วัดป่านานาชาติ (Wat Pah Nanachart)
เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สัปปายะ และปลอดภัย สำหรับผู้ที่ต้องการหาที่หลีกเร้นสำหรับการภาวนาเป็นบางครั้งบางคราว วัดป่านานาชาติ เป็นอีกหนึ่งสาขาของวัดหนองป่าพง เกิดขึ้นเนื่องจากความศรัทธาของชาวต่างชาติที่มีต่อหลวงหลวงพ่อชา สุภัทโธ พระอริยสงฆ์องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย... ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นวัดป่านานาชาติ ดังนั้น ภิกษุและเจ้าอาวาส (ไม่มีแม่ชีประจำ) ผ้าขาว รวมถึงผู้มาพักปฎิบัติธรรม ส่วนใหญ่จึงเป็นชาวต่างชาติซึ่งเดินทางมาจากทั่วโลก ทั้งชาวยุโรปและเอชีย เช่น อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศษ อินเดีย ลาว ไทย เป็นต้น.. ที่วัดแห่งนี้จึงภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสาร แม้แต่การสวดมนต์แปล ก็ใช้ภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าอาวาสและภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสานได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องวิตกกังวลสำหรับผู้ที่ไม่สันทัดภาษาต่างประเทศ หากต้องการเข้าไปขอพักภาวนากับทางวัด... โดยท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซน์ของทางวัด ที่นี่ http://www.watpahnanachat.org/
ที่อยู่ วัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย หมู่ 7 ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 อยู่ไกลจากอำเภอเมืองไปตามเส้นไปจังหวัดศรีษะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร สำหรับ เบอร์โทรศัพท์บ้าน ทางวัดเลิกใช้แล้ว
การขอเข้าปฎิบัติธรรม
( หรือ สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.watpahnanachat.org/stay.php)
1. เขียนจดหมายขออนุญาต guest monk (พระผู้ดูแลแขก)ล่วงหน้า แจ้งชื่อ ที่อยู่ เป็นใคร มาจากไหน ปฎิบัติแนวไหน จะพักกี่วัน (เป็นภาษาอังกฤษ) ส่งไปตาที่อยู่วัด แล้วรอจดหมายตอบรับก่อน
2. หรือ ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็สามารถไปที่วัดก่อน แล้วขออนุญาติ guest monk ก็ได้
3. ผู้ชาย อยู่ได้ไม่เกิน 3 วัน ถ้าจะอยู่เกิน 3 วัน ต้องโกนผม (คือเป็นอนาคาริก สวมชุดขาว ถือศีล 8 โกนผม) เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพักเพราะต้องการประหยัดค่าที่พัก สำหรับผู้หญิง อยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ได้แล้วแต่ว่าเจ้าอาวาสจะอนุญาต (ข้อมูลปี 54)
การเดินทาง
1. ทางรถทัวร์ นั่งรถอะไรก็ได้ที่ไปอุบลให้ไปลงที่สถานีขนส่ง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี (จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถที่หมอชิตใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 8-11 ชม. แล้วแต่ประเภทรถสอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 http://www.transport.co.th/ ) จากนั้นต่อรถตุ๊กๆรถสาย 3 (สีชมพู) จากสถานีขนส่ง ไปต่อสองแถวที่ อ.วารินชำราบ (10 บาท ตลอดสาย) จากนั้นต่อรถ 2 แถว (20 บาท) บอกคนขับว่าจะลงที่วัดป่านานาชาติให้แวะจอดให้ด้วย แล้วเดินเข้าไปวัดประมาณ 300 เมตร
2. ทางเครื่องบิน สามารถขึ้นเครื่องที่ดอนเมือง (เช่น นกแอร์) หรือสุวรรณภูมิ (เช่น การบินไทย) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าเครื่องเที่ยวเดียวรวมภาษีแล้ว กรุงเทพฯ-อุบลฯ อยู่ที่ประมาณ 2,500 บาท (บวก ลบ ตามประเภทของสายการบิน, โปรโมชั่น, และช่วงวันและเวลาที่จะเดินทาง) หารถต่อมายังวัด ราคาแล้วแต่ต่อรอง
3. ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง(กรุงเทพฯ) ไปที่สถานีอุบลราชธานี (อยู่อำเภอวารินชำราบ) มีทุกวัน ทั้งรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-12 ชม. สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 หรือ www.railway.co.th สถานีอุบลอยู่ไม่ไกลจากวัดเท่าไหร่ หารถมอไซน์หรือตุ๊กๆต่อมายังวัด ราคาแล้วแต่ต่อรอง
4. รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอโชคชัย อำเภอนางรอง อำเภอสังขะ อำเภอเดชอุดม ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอโชคชัย อำเภอนางรอง อำเภอสังขะ อำเภอเดชอุดม ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อไปถึงจักหวัดอุบลแล้ว เดินทางจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ตรงมาทางหลวงหมายเลข 226 (สายอุบล-ศรีสะเกษ) จะมีป้ายบอกทางขวามือ
ปล. ทางวัดมีเวลาปิดประตูวัดประมาณ 6 โมงเย็น ดังนั้น ควรเดินทางมาถึงก่อนเวลาดังกล่าว
ขออนุโมทนากับผู้ที่จะไปปฎิบัติธรรมค่ะ ^____________^
แนวทางการปฎิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชา สุภัคโธ... สำหรับผู้มาปฎิบัติ ธรรมชั่วคราว ถือศิล 8 เน้นให้ปฎิบัติด้วยตนเอง ไม่มีคอร์ส หรือผู้นำปฎิบัติ เหมาะสำหรับผู้มีพื้นฐานการปฎิบัติอยู่แล้ว
การแต่งกาย ผู้ชาย : สวมเสื้อ กางเกง สีขาวทั้งชุด , ผู้หญิงเสื้อขาว ผ้าถุงสีดำ (ทางวัดมีให้ยืม แต่ควรเตรียมไปเองจะดีกว่า)
ภาษา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร และสวดมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม พระภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสาน ได้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาในการสื่อสาร
ภาษา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร และสวดมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม พระภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสาน ได้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาในการสื่อสาร
ที่พัก มีทั้งกุฎิเดี่ยว และกุฎิรวมอยู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป..มีน้ำ ไฟ ห้องน้ำ พัดลม มีที่ซักผ้า ตากผ้า สำหรับผู้หญิง ที่พักแบ่งออกเป็น 2 โซน โซนที่ 1 กุฎิจะอยู่ใกล้กัน มีเสาไฟเปิดตอนกลางคืน โซนที่ 2 กุฎิจะอยู่ห่างกัน แทบมองไม่เห็นกัน ตอนกลางคืนจะมืดมาก เพราะไม่มีเสาไฟเปิด ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะนอนรวมกันที่ชั้น 2 ของโรงครัว หรือกุฎิเดี่ยว หากมีกุฎิว่าง
การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ จะมีภาชนะที่เป็นเหมือนกะละมังเล็กๆให้ตักอาหาร อาหารมีทั้งอาหารท้องถิ่น และทางฝั่งยุโรปพวกขนมปัง แซนวิส ปะปนกันไป หลากหลายมาก และทานน้ำปานะรวมกันอีกทีตอน 4 โมงเย็น
สิ่งของจำเป็น นำไฟฉายไปด้วย (ถ้าไม่มีจริงๆก็ยืมทางวัดได้), ยากันยุง, ของใช้ส่วนตัว เช่นสบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ยารักษาโรคประจำตัว ติดตัวไปด้วย หน้าวัดไม่มีร้านขายของชำ ดังนั้นควรจัดเตรียมของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางไปวัด
ตารางกิจวัตรประจำวัน
03.00 น. ตีระฆัง สวดมนต์ทำวัตรเช้าร่วมกันที่ศาลา
05.00 น. ภิกษุเตรียมตัวออกบิณฑบาตร ส่วนอุบาสก อุบาสิกา ทำความสะอาดโบสถ์และกวาดใบหญ้าบริเวณรอบๆ
07.00 น. หากประสงค์ ก็สามารถไปช่วยจัดอาหารที่โรงครัวได้ (ที่วัดไม่มีแม่ชีประจำ ไม่มีการทำครัว ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเอาอาหารมาร่วมทำบุญ หรือเอาวัตถุดิบมาปรุงอาหารในเช้าวันนั้นเลย
08.00 น. รับประทานอาหาร
15.00 น. ตีระฆัง กวาดลานวัด
16.00 น. ดื่มน้ำปานะ
18.15 น. ตีระฆัง สวดมนต์ทำวัตรเย็นร่วมกัน
เวลาที่เหลือ ทำกิจวัตรส่วนตัว และปฎิบัติด้วยตัวเอง
ขออนุโมทนากับผู้ที่จะไปปฎิบัติธรรมค่ะ ^____________^